ครูไร้เวลาสอน ทำแต่งานธุรการ ผลพวงปฏิรูปการศึกษากระจายอำนาจ

เขตพื้นที่นำร่องฯ กระจายอำนาจ ยังพบปัญหาหลายอย่าง ระบุปัญหาหลักเรื่องบุคลากร ครูต้องทำงานธุรการไม่มีเวลาสอน “ณรงค์” แนะอย่าวิ่งชนปัญหา แต่ให้หาทางออกที่หลากหลาย ระบุโครงการเพิ่งเริ่มยังไม่เห็นภาพชัด

        26 ม.ค. พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้เข้ารับฟังการดำเนินงานตามโครงการปฏิรูปการเรียนรู้สู่ผู้เรียน หลังจากมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต ไปคัดเลือกโรงเรียนในเขตๆ ละ 15 โรงเพื่อนำร่องกระจายอำนาจการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดอิสระและมีความคล่องตัวในการทำงานตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ม.ค. พบว่า หลังจากเริ่มโครงการฯดังกล่าวไปแล้ว ประมาณ 20 วัน จึงขอให้แต่ละเขตพื้นที่ฯ นำประสบการณ์และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาแลกเปลี่ยนร่วมกัน
“เสียงสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของบุคลากร เช่น ครูต้องไปทำงานธุรการ ทิ้งห้องเรียนจนทำให้ไม่มีเวลาเตรียมการสอน ซึ่งเขตพื้นที่ก็อยากเสนอให้ทุกโรงเรียนมีเจ้าหน้าที่ธุรการ แต่ในความเป็นจริงต้องดูภาพรวมด้วยเพราะโรงเรียนมีอยู่หลายหมื่นโรง และหากจะต้องมีเจ้าหน้าที่ธุรการให้ครบทุกโรงคงเป็นไปไม่ได้ และอาจจะเกิดปัญหาด้านงบประมาณตามมาอีก อย่างไรก็ตาม โครงการนี้เพิ่งจะเริ่มต้นอาจยังไม่เห็นภาพชัดเจน คาดว่า อีกประมาณ 2 – 3 เดือนการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน”

อ้างอิง : http://www.unigang.com/Article/23341

มั่นใจไทยเป็นฮับการศึกษานานาชาติอาเซียน

สมาคมโรงเรียนนานาชาติ จัดสัมมนาใหญ่ฉลองครบรอบ 20 ปี เผยมาตรฐานติดอันดับ 1 ของเอเชีย เชื่อมั่นไทยพร้อมเป็นฮับด้านการศึกษาของโรงเรียนนานาชาติในภูมิภาคอาเซียน

วันนี้( 23 ม.ค.) นางอุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT ) กล่าวว่า เป็นระยะเวลา 20 ปีแล้วที่ได้มีการตั้งสมาคมโรงเรียนนานาชาติขึ้น ซึ่งโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ตั้งเป้าหมายผลิตพลเมืองคุณภาพให้สังคมโลก มุ่งสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้เด็กสามารถก้าวสู่โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง จนปัจจุบันโรงเรียนนานาชาติของไทยได้มาตรฐานติดอันดับ 1 ของเอเชีย เนื่องจากมีจุดเด่นในแง่คุณภาพ และมาตรฐาน รวมถึงค่าเล่าเรียนที่แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านและทั่วโลกได้ และยังมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งตนเชื่อมั่นว่าไทยมีความพร้อมจะเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติของอาเซียนได้อย่างแน่นอน

” ขณะนี้สมาคมมีโรงเรียนนานาชาติที่เป็นสมาชิก จำนวน 113 โรงเรียน จากทั้งหมด 147 โรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งเรามีความหลากหลายของโรงเรียน มีความหลากหลายของหลักสูตร และมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั่วโลก เด็กสามารถไปเรียนต่อได้ทุกที่ที่ต้องการ ขณะเดียวกันก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีโรงเรียนเปิดใหม่เฉลี่ยปีละ ประมาณ 3-4 แห่ง กระจายตัวตามภูมิภาคต่างๆ ด้วยปัจจัยเหล่านี้การเป็นฮับของอาเซียนก็ไม่ใช่เรื่องยาก” นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติ กล่าว

นางอุษา กล่าวอีกว่า ขณะที่การประเมินโรงเรียนนานาชาตินั้น จะมีหน่วยงานกลางซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ เข้ามาประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ทั้งองค์กร Western Association of Schools and Colleges ของประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ซึ่งจะมีการแบ่งการประเมินกันอย่างชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ซึ่งจากการประเมินที่ผ่านมา พบว่าโรงเรียนนานาชาติของไทยมีผลประเมินเป็นที่น่าพอใจมาก ทั้งครูผู้สอน และผู้เรียน โดยเฉพาะเด็กนักเรียนไทย มีความขยัน ใส่ใจในการเรียน รวมทั้งผู้ปกครอง ก็ให้ความสนใจกับบุตรหลานอย่างเต็มที่

“ อย่างไรก็ตามทางสมาคมอยากฝากรัฐบาล ให้ช่วยสนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินงานของโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ทั้ง การบริหารจัดการให้เกิดความคล่องตัว มีกฎหมาย และระเบียบที่ที่เอื้อต่อการจัดระบบการศึกษานานาชาติ อาทิ เรื่องการนำครูต่างชาติเข้ามาสอนในประเทศไทย เป็นต้น ” นางอุษา กล่าว และว่า ในโอกาสครบรอบ 20 ปีของสมาคมฯ ได้เชิญ ศาสตราจารย์ ดร. หยง เจา (Prof.Dr.Yong Zhao) ซึ่งเป็นนักการศึกษา นักวิชาการ นักเขียน และอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดังของโลกมาบรรยายให้ความรู้และทัศนะด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 หัวข้อ Educational Trend in the 21th Century: East Meets West ในวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 นี้ ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการสัมมนาในช่วงเช้าของวันเดียวกัน สำหรับครูและนักการศึกษา ในหัวข้อ World Class Learners: Educating Creative and Entrepreneurial Students ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในบ้านเราเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา เดลินิวส์ วันที่ 23 มกราคม 2558

สั่งปรับการอบรมวิชาชีพ ‘ครู’ หวังได้ครูคุณภาพเข้าสู่ระบบ

ที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา สั่งปรับปรุงกระบวนการอบรม 9 กลุ่มมาตรฐานวิชาชีพ หวังจัดทำให้เหมาะสมกับการได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู…

เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2557 ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภาเมื่อเร็วๆ นี้ ได้พิจารณาเกี่ยวกับการปรับปรุงกระบวนการอบรม 9 กลุ่มมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา สำหรับผู้ปฏิบัติการสอนซึ่งเป็นครูอยู่ในปัจจุบัน แต่ไม่ได้จบสายครูโดยตรง เพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เนื่องจากที่ผ่านมาคุรุสภา ได้รับเสียงสะท้อนว่า การอบรมดังกล่าวค่อนข้างมีปัญหา โดยเฉพาะในกลุ่มครูผู้สอนสายอาชีพ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่ส่วนใหญ่มีความรู้เฉพาะทาง และไม่ได้จบสายครู เช่น วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ หรือ นักธุรกิจ เป็นต้น โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ สอศ.ไปจัดทำแนวทาง หรือเงื่อนไขที่เหมาะสม เพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และนำมาเสนอให้บอร์ดคุรุสภาพิจารณาก่อนจะประกาศใช้ต่อไป

EyWwB5WU57MYnKOuFZkdI9eVJ14mk34ciYZNnLGrpk2b8BG1HT2XTT

“คุรุสภามองว่า การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูตามหลักปฏิบัติปกติ อาจไม่เป็นไปตามความต้องการของ สอศ. จึงอยากให้ สอศ.ไปจัดทำเงื่อนไขหรือกระบวนการพิเศษมา เช่น การฝึกสอนจะเป็นอย่างไร หรือหากมีประสบการณ์แล้วจะใช้วิธีการเทียบโอนประสบการณ์ได้หรือไม่ เป็นต้น ซึ่งการทำเช่นนี้จะเป็นไปตามความต้องการของสถาบันผู้ใช้ครูอย่างแท้จริง” ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว

ประธานกรรมการคุรุสภา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่า มีผู้สนใจเข้ามาเป็นครูจำนวนมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากมีผู้สมัครเข้าเรียนครูสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่ผู้ที่เรียนในสายอาชีพอื่น ก็ยังเปลี่ยนใจเบนเข็มมาเป็นครู ดังนั้น คณะกรรมการคุรุสภา จึงมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ไปตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อทบทวนกระบวนการเข้าสู่วิชาชีพครูทั้งระบบ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และได้เปิดเส้นทางการเข้าสู่วิชาชีพครูเพียงพอกับความต้องการหรือยัง รวมทั้งให้ดูถึงคุณภาพความเป็นครู ของผู้ที่ไม่ได้จบสายครู ว่าเท่าเทียมกับผู้ที่จบสายครูโดยตรงหรือไม่ ทั้งนี้ให้นำเสนอข้อมูลต่อบอร์ดคุรุสภาพิจารณาโดยเร็วที่สุด.

อ้างอิง : ไทยรัฐออนไลน์

จุดเริ่มต้นของ”ชมรมวิชาชีพครูออนไลน์”

เริ่มก่อตั้งชมรมเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2558 โดยตั้งชื่อชมรมว่า “ชมรมวิชาชีพครูออนลไน์” โดยมีสมาชิกทีมงานที่ช่วยกันก่อตั้งทั้งหมด 5 คน จัดทำขึ้นในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา